งานขันโตกช้าง หรือสะโตกช้าง
จัดขึ้นทุกวันศุกร์-เสาร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ภายในงานจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ การแสดงของช้างและขันโตกช้าง การรับประทานข้าวแลงขันโตกของผู้ร่วมงาน
ประเพณีไทย แห่สลุงหลวง
ประวัติประเพณีในเทศกาลสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ชาวลำปางจะจัดขบวนแห่ที่เรียกว่า “ประเพณีแห่สลุงหลวงจังหวัดลำปาง” ( สลุงหลวง แปลอีกความหมายว่าขันเงินใบใหญ่ ) พิธีการคือนำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย
การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณีไทย คือใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูกต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนธ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนานำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป ชาวลำปาง ยึดถือประเพณีสรงน้ำองค์พระแก้วมรกตดอนเต้าสืบมาตลอด การจัดขบวนแห่สลุงหลวง เพื่อรับน้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่โบราณ
ประกวดเทียนจำนำพรรษาเนื่องในวันอาสาฬหบูชา
นนี้ (31 ก.ค.) เทศบาลนครลำปาง ร่วมกับชุมชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ร่วมกันตกแต่งเทียนจำนำพรรษาและขบวนแห่อย่างสวยงามเข้าร่วมการประกวดเทียนพรรษาและขบวนแห่ เพื่อส่งเสริมศาสนาและประเพณีการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดลำปางให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเจริญรุ่งเรือง และเพื่อบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพุทธบูชาในวันอาสาฬหบูชาและฤดูกาลเข้าพรรษาด้วย
โดยผู้เข้าร่วมส่งเทียนพรรษาเข้าประกวดในปีนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ต่างได้มาทำการตกแต่งต้นเทียนและรถเทียนพรรษาพร้อมขบวนแห่ ณ สวนสาธารณะเขลางค์นครตั้งแต่เช้า หลังจากนั้นคณะกรรมการได้ให้คะแนนต้นเทียนและขบวนแห่ พร้อมมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนแห่เทียนพรรษาออกจากสวนสาธารณะเขลางค์นครในเวลา 09.00 น. เพื่อให้ผู้ที่นำเทียนเข้าประกวดนำเทียนพรรษาดังกล่าวไปถวายที่วัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครลำปางต่อไป
เทศกาลดอกเสี้ยวบาน บ้านป่าเหมี้ยง
บ้านป่าเหมี้ยง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนโดยอยู่ห่างจากตัวอุทยานฯประมาณ 14 กม. บ้านป่าเหมี้ยง ชุมชน บนเขาสูง โอบล้อมด้วยป่าเหมี้ยง มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ภูเขาสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ1,200 เมตร หมู่บ้านแห่งนี้มีจำนวนครัวเรือน ประมาณ 126 ครัวเรือนชาว บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนเหมี้ยงแปรรูปเหมี้ยงและหา ของป่าวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนยังคงรูปแบบ ดั้งเดิมมีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและ การละเล่นต่างๆ อาหารประจำถิ่นได้แก่ ยำใบเหมี้ยงยำดอกเสี้ยวหลามปลีไข่ป่ามสมุนไพรไส้อั่วเห็ดหอมฯลฯ ซึ่งนักท่องเที่ยว สามารถสัมผัสได้จริงแมกไม้ และขุนเขาไว้คอยบริการ เทศกาลดอกเสี้ยวบาน บ้านป่าเหมี้ยงบ้านป่าเหมี้ยงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องมากจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ดอกเสี้ยวป่าสีขาวบริสุทธิ์ จะบานทั่วหุบเขาและระห่างทางเดิน ดอกเสี้ยวป่า เป็นดอกไม้พื้นเมือง ลักษณะดอก จะมีสีขาว มี 5 กลีบ มีแต้มสีชมพูที่กลีบใหญ่ ขึ้นบนภูเขาที่มีระดับความสูง 1,000 เมตรขึ้นไป มีขึ้นมากที่สุดที่ บ้านป่าเหมี้ยง ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน ซึ่งในทุกปีจะมีเทศกาลดอกเสี้ยวบาน นอกจากเทศกาลดอกเสี้ยวบานแล้วบ้านป่าเหมี้ยง ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติิ จุดชมวิวที่ดอยล้านเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่กว้างไกลและมองเห็นแสงไฟในยามค่ำคืนได้ถึงจังหวัด คือลำปางเชียงใหม่และเชียงรายและจุดชมวิวดอยกิ่วฝิ่น ซึ่งเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ สวนที่สุดแห่งหนึ่งของ จังหวัดลำปาง นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนที่มี จุดเด่นคือ น้ำพุร้อน และน้ำตกแจ้ซ้อน หากต้องการมาสัมผัสธรรมชาติิและวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างใกล้ชิด บ้านป่าเหมี้ยง มีที่พักแบบโฮมเสตย์ที่ให้บริการประมาณ 3-4 เจ้า ไว้รองรับนักท่องเที่ยวได้ ตลอดทั้งปี มาเที่ยวในหมู่บ้านป่าเหมื้ยงต้องลิ้มลองอาหารของหมู่บ้าน ประกอบด้วย ยำใบเหมี้ยงที่เป็นที่นิยมขอนักท่องเที่ยว กล้วยป่า และไข่ป่ามใบตองเห็ดหอมดอย ให้ลองชิมอีกด้วยผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ของหมู่บ้านกลุ่มอาชีพที่มีใน หมู่บ้านเหมี้ยงหมัก และชาใบเหมี้ยง รสชาติดั้งเดิมของชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูป จากใบเหมี้ยงเช่น ลูกอมรสชาใบเหมี้ยง หมอนใบชา เห็ดหอมน้ำผึ่งป่า
รำลึกวันประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้าลำปาง
จัดงานระหว่าง ๑ – ๕ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณหน้าสถานีรถไฟนครลำปางการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรำลึกถึงความสำคัญขิงกิจการรถไฟ รถม้า ที่ได้เข้ามาสู่จังหวัดลำปาง เป็นครั้งแรกในอดีตเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๕๙ ในสมัยของรัชกาลที่ ๖ และมีการนำรถม้ามาให้บริการบนเส้นทางหลวงของมณฑลสายเหนืออีกด้วย จึงนับว่ารถไฟและรถม้ามีบทบาทสำคัญต่อนครลำปางเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม แก่ชาวนครลำปางมาจนถึงปัจจุบัน เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวลำปาง ที่ถือว่ามีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์ในตัวเองให้ดำรงคงอยู่และเผยแพร่สู่สาธารณ ชน นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
สำหรับกิจกรรมต่างๆภายในงานนั้นมีมากมายทั้งการ ชมตลาดย้อนยุค “กาดหมั้ว” ชมและเลือกซื้อ สินค้า OTOP ชมนิทรรศการประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้า นครลำปาง ประกวดคาวบอยชายและ หญิง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ให้บริการนั่งรถม้าชมเมืองลำปาง ชมเมืองลำปาง การจัดมหกรรมอาหาร การบริการท่องเที่ยว พิเศษในค่ำคืน วันที่ ๑ เมษายน มีการนั่งกินข้าวแลงอมราสะโตกคำ พร้อมชมการแสดง แสง สี เสียง