ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดี บุก”ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย” เสียที อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล การเดินทางก็แสนสะดวก นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินมาขึ้นที่สถานีสุขุมวิท ออกจากตัวสถานีเลี้ยวขวา หรือทางมาด้วยรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศก ออกทางออกที่ 5 เดินขึ้นไปเรื่อย ๆ เลยห้างโรบินสันไปนิดเดียวก็จะเจอ ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ ซึ่งอยู่ระหว่าง ซ.สุขุมวิท 15 -17 ไม่ไกลค่ะเดินได้สบาย ๆ ในนั่นมีอะไรบ้าง
เปิดประตูเข้าไป จะได้ยินเสียงทักทายเป็นภาษาเกาหลีก่อนเลย ที่ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ แแห่งนี้ มีการจัดแสดงอยู่ 2 ชั้น ชั้นล่าง หรือ ชั้นที่ 1 เรียกว่า โถงเกาหลี เป็นการจัดแสดงรูปถ่ายและตู้โชว์ผลงานของนักแสดงและนักร้องเกาหลีที่มีชื่อเสียงที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเราจะมาดูกันทีหลังนะค่ะ ขอพาขึ้นไปทัวร์ชั้น 2 ก่อน
เราคิดว่า โคมไฟนี้ ทำเป็นรูปดอก มูกุงฮวา ดอกมูกุงฮวา หรือ โรส ออฟ ชารอน เป็นดอกไม้ประจำชาติของเกาหลี ดอกไม้ชนิดนี้ ไม่เหมือนดอกไม้ชนิดอื่น คือสามารถทนสภาพอากาศที่เลวร้าย และศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ความหมายของคำว่า มูกุงฮวา มาจากรากศัพท์ มูกุง ซึ่งหมายถึง ความเป็นอมตะ ของประวัติศาสตร์เกาหลี ความมุ่งมั่น และความอดทนของ ชาวเกาหลี Cr. : sisterme.net
– ห้องครัว เป็นห้องครัวที่ทันสมัย สำหรับการเรียนทำอาหารเกาหลี
– ห้องฮุนมินจองอึม และ ห้องแซจง เป็นห้องสำหรับการเรียนภาษา เรียนทำกระดาษเกาหลี และจัดการสัมมานา ขนาดเล็ก
– ห้องสมุด มีหนังสือมากกว่า 2,000 เล่ม หลากหลายประเภท ทั้งประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งนำมาจากประเทสเกาหลี และยังมีวีดีทัศน์ ให้ได้เลือกชมภายในห้อง
– ห้องวัฒนธรรม จัดแสดง เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดนตรี เป็นต้น
– ฮันมาดังเธียเตอร์ ใช้เป็นพื้นที่แสองขนาดความจุ 200 ที่นั่ง สามารถใช้จัดแสดงดนตรี ภาพยนต์ และยังสามารถดัดแปลงเป็นพื้นที่ในการเรียนเทควันโด การเต็นแบบ K-POP และกิจกรรมอื่น ๆ
– มัลติมิเตียเลานจ์ เป็นพื้นที่สำหรับให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สัมผัสนวัตกรรม และเทคโนโลยี่สมัยใหม่ของประเทศเกาหลี ซึ่งประกอบด้วย สมาร์ททีวีและแท็ปเล็ต
ห้องแสดงศิลปะ
ศิลปินไทย : Pornwipa Suriyakarn (พรวิภา สุริยกานต์)
Ar-ra-ya Boo-cha
Mixed media, Variable size
ศิลปินไทย : Charinthorn Rachurtchata (ชรินทร ราชุรัชต)
Fashion Inferno
ผลงานของ : Charinthorn Rachurtchata (ชรินทร ราชุรัชต)
Atomize
ศิลปินจากไทยและเกาหลีรวม 4 คน มาแสดงผลงานศิลปะในหัวข้อ “TRANSFORM” โดยการแสดงผลงานครั้งนี้จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 กรกฏาคม – 4 กันยายน 2556
ห้องวัฒนธรรม
Hanbok
“ฮันบก” (Hanbok) จัดเป็นชุดประจำชาติของเกาหลีซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมานานนับพัน ๆ ปี ความสวยงาม ก่อนอิทธิพลของเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกจะเข้ามาแทนที่ ฮันบกเคยถูกใช้เป็นชุดแต่งกายประจำวัน โดย ผู้ชายสมัยก่อนจะสวมใส่ “ชอกอรี” (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และ “พาจิ” (กางเกงขายาว) ขณะที่ ผู้หญิงจะสวมใส่ “ชอกอรี” กับ “ชีมา” (กระโปรง) แต่ปัจจุบันนี้ชาวเกาหลีมักจะใส่ “ฮันบก” เฉพาะโอกาสเฉลิมฉลอง หรือวันสำคัญ ๆ เช่น วันแต่งงาน วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า)
ในส่วนของผ้าที่นำมาใช้ตัดชุดฮันบกมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผ้าป่าน ผ้าฝ้ายมัส ลิน ผ้าไหม ผ้าแพร โดยผู้สวมใส่จะเลือกใส่ชุดที่ตัดจากผ้าชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
ฮันบกที่ใช้สำหรับแต่งกายในฤดูหนาวมักใช้ผ้าที่ทอจากฝ้าย และกางเกงขายาวมีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับ และการแผ่กระจายของความร้อนในร่างกาย สีผ้าที่ถูกเลือกมาใช้ตัดชุดฮันบกส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว ซึ่งสื่อถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์ แต่หากต้องการได้ชุดที่ดูหรูขึ้นมาอีกนิดสำหรับสวมใส่ไปงานสำคัญ ๆ ก็จะใช้ผ้าสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีดำมาประกอบ การแต่งกายด้วยชุดฮันบกไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องเป็นสีใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้สวมใส่เป็นหลักหญิงสาวเกาหลีตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่จะมีชุดฮันบกเป็นของตนเองสำหรับใช้ใส่ในวันสำคัญต่าง ๆ โดยเราจะสังเกตได้ว่า ชุดฮันบกของหญิงสาวจะถูกออกแบบมาให้เป็นกระโปรงพองยาว และเสื้อตัวสั้น ทั้งนี้ก็เพื่อพรางรูปร่าง และปกปิดส่วนเว้าส่วนโค้งของผู้สวมใส่ไม่ให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจผู้ชายในสมัยอดีต
Sanjo Gayageum ซันโจะ กายาคึม ใช้ร่วมบรรเลงทั่วไปในรูปแบบของดนตรีพื้นบ้าน
Gayageum, Kayagum (กายาคึม, คายากึม) เป็นเครื่องดนตรีชนิดตั้งราบขนานไปกับพื้นเช่นเดียวกับจะเข้ของไทย ลักษณะโครงสร้างโดยรวมของเครื่องดนตรีชนิดนี้ คล้ายคลึงกับเจง(Cheng) ของจีน และโกโตะ (Koto) ของญี่ปุ่น
กายาคึม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการใช้งานคือ 1) ชองอั๊ก กายาคึม (Chongak Kayakum ) และ 2 ) ซันโจะ กายาคึม (Sanjo Kayakum) ชองอั๊ก กายาคึม ใช้บรรเลงร่วมในวงดนตรีราชสำนัก ส่วนซันโจะ กายาคึม ใช้ร่วมบรรเลงทั่วไปในรูปแบบของดนตรีพื้นบ้าน กายาคึมทั้งสองประเภทมีสาย 12 สาย
แฮคึม (Haegum) เป็นซอ 2 สาย ลักษณะเหมือนกันกับซอฮู – ฉิน (Hu – Chin) ของจีน และคล้ายคลึงกับซอด้วงของไทย นักดนตรีวิทยาเชื่อกันว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาสู่เกาหลีช่วงสมัยโกเรียวา (คริสต์ศักราช 918 – 1392) แฮคึมในบรรเลงนำทำนอง ร่วมประสมอยู่ในวงดนตรีเกาหลีแบบดั้งเดิม หรือดนตรีแบบหยางอั๊ก (Huang – Ak) นอกจากนั้นยังนิยมใช้บรรเลงประกอบการร่ายรำ