ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN CULTURAL CENTER-ACC) ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายในการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง
วัฒนธรรมภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับชาวไทยและชาวอาเซียนในโอกาสครบรอบ 48 ปี วันสถาปนาอาเซียน
(8 สิงหาคม 2510)
นิทรรศการภายในศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนจัดแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียนที่มีความงดงาม หลากหลายและคล้ายคลึง รวมถึงสะท้อนวิถีชีวิต รากเหง้า
วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าจากประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยเทคโนโลยีมัลติทัชและมัลติมีเดียเพื่อสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้ที่ผู้เข้าชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมอันจะนำมาซึ่งความเข้าใจ
และความสัมพันธ์อันดีระหว่างพลเมืองในอาเซียน และเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ตลอดจนนำไปสู่การสร้าง
บุคลากรทางด้านวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน เป็นศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนแห่งแรกของประชาคมอาเซียน และยังเป็นต้นแบบของศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ได้เตรียมพร้อมอย่างสมบูรณ์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมมีแผนจะจัดทำศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนย่อยในต่างจังหวัดด้วย
พื้นที่จัดแสดง
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนจัดแสดงบริเวณชั้น 3 ของหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน นำเสนอวัฒนธรรมอาเซียนครบทุกด้าน เพื่อสร้างองค์ความรู้และตระหนักรู้เรื่องวัฒนธรรม
อาเซียน และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน พื้นที่จัดแสดงศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 เราอยู่ร่วมกัน
เราอยู่ร่วมกัน (The Melting Pot of ASEAN Cultures) ชมสารคดีเรื่องสั้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประชาชนในประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกัน
อย่างสมานฉันท์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ภาษา อาหาร และการแต่งกาย เพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมร่วมแห่งอาเซียนและความภาคภูมิใจในมรดกอันทรงคุณค่า
ร่วมกัน โดยจัดแสดงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ส่วนที่ 2 ผูกพันหนึ่งเดียว
ผูกพันหนึ่งเดียว (We are ASEAN) นำเสนอข้อมูลประชาคมอาเซียน ได้แก่ กำเนิดประชาคมอาเซียน ลำดับเหตุการณ์สำคัญของประชาคมอาเซียน และข้อมูลทั่วไป
ของประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านจอภาพขนาดใหญ่
ส่วนที่ 3 เที่ยวไปในอาเซียน
เที่ยวไปในอาเซียน (The ASEAN Street) นำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาสร้างประสบการณ์แห่งวัฒนธรรมอาเซียน แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1. มรดกของเรา (ASEAN Art & Culture Collections) นำเสนอมรดกอาเซียนที่มีร่วมกันในประเทศสมาชิก
2. เข้ามาทักทาย (ASEAN Windows) เป็นการนำเสนอเรื่องการทักทายด้วยภาษา10 ชาติอาเซียน
3. อยู่สบายอาเซียน (ASEAN Ways) เปิดประตูสู่สถานที่ต่าง ๆในอาเซียน
4. เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (ASEAN National Costumes) นำวิดีทัศน์เสมือนจริงมาให้ผู้ชมได้สวมใส่ชุดแต่งกายประจำชาติ ทั้ง 10 ประเทศ
5. หลากหลายจานเด่น (ASEAN Dishes) เป็นภาพสามมิติของอาหารอาเซียนอันหลากหลายผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง สอดแทรกความรู้ละความสนุกสนาน เสนอเรื่องราว
ถนนสายวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ มรดกโลก
ส่วนที่ 4 หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่อง
หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่อง (Temporary Exhibition) เป็นพื้นที่นิทรรศการชั่วคราว นำเสนอศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในแง่มุมใหม่ ๆ สลับสับเปลี่ยนกันไป สลับการจัดการ
แสดงดนตรี หมุนเวียนทุกเดือน
ส่วนที่ 5 เรียนรู้ในสวน
เรียนรู้ในสวน (ASEAN E-Library Park) นำเสนอมรดกอาเซียนซึ่งได้รับการบันทึกไว้เป็นมรดกโลก และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศ
ที่น่าสนใจทั้งภาไทยและภาษาต่างประเทศ ผู้เข้าชมยังสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.elibrary-acc.com ได้ด้วย
ส่วนที่ 6 ชวนกันสร้างสรรค์
ชวนกันสร้างสรรค์ (Cultural Knowledge Lab) เป็นห้องปฏิบัติการวัฒนธรรม เปิดพื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นและจัด
กิจกรรมของประเทศอาเซียน
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปวัตถุทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ได้รับมอบจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียนและโบราณวัตถุจากกรมศิลปากร ซึ่งทำ
ให้ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนเป็นแหล่งศึกษาทาง ด้านศิลปวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์